ดูฤกษ์การเดินทางด้วยยามอุบากอง


ดูฤกษ์การเดินทางด้วยยามอุบากอง
การเดินยามแบบที่ ๑ ใช้ตารางดังรูป ยามอุบากอง ๑ ซึ่งเป็นแบบตารางที่นิยมใช้ อาจเพราะมีเผยแพร่มากที่สุด จะมีรูปแบบ คือมีวันทั้ง ๗ คือ จันทร์ - อาทิตย์ และช่วงเวลาแบ่งเป็นกลางวัน ๕ ยาม กลางคืน ๕ ยาม โดย ๑ ยามอุบากองเท่ากับ ๒ นาฬิกา(ชั่วโมง) กับ ๔ บาท หรือ ๒ ชั่วโมง ๒๔ นาที โดย ๑ บาท(เวลา) เท่ากับ ๖ นาที ซึ่งจะได้ช่วงรอบเวลาประมาณดังนี้

เช้า๐๖.๐๑ น. ถึง ๐๘.๒๔ น.
สาย๐๘.๒๕ น. ถึง ๑๐.๔๘ น.
เที่ยง๑๐.๔๙ น. ถึง ๑๓.๑๒ น.
บ่าย๑๓.๑๓ น. ถึง ๑๕.๓๖ น.
เย็น๑๕.๓๗ น. ถึง ๑๘.๐๐ น.
ยามที่ ๑๑๘.๐๑ น. ถึง ๒๐.๒๔ น.
ยามที่ ๖๒๐.๒๕ น. ถึง ๒๒.๔๘ น.
ยามที่ ๓๒๒.๔๙ น.ถึง ๐๑.๑๒ น.
ยามที่ ๔๐๑.๑๓ น. ถีง ๐๓.๓๖ น.
ยามที่ ๕๐๓.๓๗ น. ถึง ๐๖.๐๐ น.


ก่อนใช้ยามอุบากองนี้ต้องเรียนรู้ ความหมายหรือคำทำนาย สัญลักษณ์ก่อน ซึ่งโบราณได้เรียบเรียงไว้ดังนี้ (ช่องว่างๆ หมายถึง ปลอดศูนย์)
ศูนย์หนึ่งอย่าพึ่งจรแม้ราญรอนจะอัปรา
สองศูนย์เร่งยาตราจะมีลาภสวัสดี
ปลอดศูนย์พูลสวัสดิ์ภัยพิบัติลาภบ่มี
กากบาทตัวอัปรีย์แม้จรลีจะอัปรา
สี่ศูนย์จะพูนผลแม้จรดลดีหนักหนา
มีลาภล้นคณนาเร่งยาตราจะมีชัย

0 Comments