การรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

การเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
คเณศวร นวลตา
บทนำ
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทยในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ..2527) เวียดนาม (วันที่ 28 .. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 .. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
บทความนี้จะพูดถึงการภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของประชาคมอาเซียน อธิบายถึงปัญหา ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ของประเทศต่างๆในอาเซียน อนาคตภาษาอังกฤษกับประชาคมอาเซียน ทั้งนี้ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางในการสื่อสารของประชาคมอาเซียนในอานาคต เราจะต้องเตรียมตัวกันอย่างไร จะตระหนักถึงความสำคัญของภาษา เพื่อการสื่อสารในอานาคตของประชาคมอาเซียนต่อไป




ก้าวสู่ AEC ภาษาที่จำเป็นในอาเซียน

อย่างที่ทราบกันว่า ในปี 2558 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศจะเข้าสู่ AEC ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษาเพื่อใช้ ในการสื่อสารในสภาพการณ์ ที่มีการแข่งขันสูงขึ้นและสภาพสังคมที่มี วัฒนธรรมต่างๆ หลากหลายเข้ ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และควรจะต้องเตรียมความพร้อมให้ดี จากข้อมูลตัวเลขจํานวนผู้ พูดภาษาต่างๆทั่วโลกของ Ethnologue 16 thedition ในปี 2009 แสดงให้เห็นว่า ภาษาที่มี ผู้ พูดมากที่สุดในโลกนั้น 3 ลําดับแรก คือ ภาษาจีนกลาง ประมาณ 1,213 ล้านคน ภาษาสเปน ประมาณ 329ล้านคน และภาษาอังกฤษประมาณ 328 ล้านคนขณะที่ข้อมูลตัวเลขจาก UNESCO ระบุว่า ภาษาที่มีการพูดกันมากที่สุดในโลกเรียงตามลําดับคือภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน นอกจากนี้ภาษาที่ได้กํ าหนดให้ใช้ในสหประชาชาติ มีด้วยกัน 6 ภาษาสําคัญคือ จีนกลาง อังกฤษ สเปน อาหรับ รัสเซีย และฝรั่งเศส จะเห็นได้ ว่าความสอดคล้องกันของข้อมูลตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของทั้งภาษาจีนกลางและภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในโลกปัจจุบันอีกทั้งกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 ก็ได้บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” ที่กําหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการทํางานของอาเซียนนั่นหมายถึงภาษาอังกฤษจะเป็นภาษาที่ใช้ในระหว่างการประชุมการโต้ตอบทางจดหมายการจัดทํารายงานการประชุมผลการพิจารณาและมติที่ประชุมตลอดจนการจัดทําคําแถลงการณ์และปฏิสัมพันธ์ต่างๆของอาเซียน
เมื่อประเทศอาเซียนเข้าสู่ AEC ไม่ว่าคนของแต่ละประเทศจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาราชการ และภาษาประจําชาติ อยู่ในขณะนี้เมื่อต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมนั้นทุกคนจําเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้นโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐข้าราชการและพนักงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน จะต้องมีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้และใช้ได้ดีด้วย ดังนั้นหากจะให้ลําดับความสําคัญของภาษาที่จําเป็นสําหรับชาวอาเซียนแล้วละก็ภาษาอังกฤษถือเป็นภาษาบังคับอันดับแรกที่ประชาชนพลเมืองใน10 ประเทศอาเซียนจะต้องฝึกฝนพัฒนาขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพราะจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้นแน่นอน เนื้องจากประชาชนของประเทศอาเซียนจะต้องไปมาหาสู่ทําความรู้จักเรียนรู้ซึ่งกันละกันเดินทางท่องเที่ยวเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทําและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียนเคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจําชาติของตน
จุดอ่อนของไทยนั้นคือการที่ยังไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในเวทีต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษทางธุรกิจการค้า การบริการ การท่องเที่ยว การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งถือว่ายังต้องพัฒนาอีกมากเมื่อเทียบกับประเทอาเซียนอื่นอย่าง สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนี เซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาที่มีความสําคัญรองลงไป คงหนีไม่พ้นภาษาจีนจะเห็นได้ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนั้นเป็นสาเหตุที่ทําให้ภาษาจีนเป็นภาษาที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นย่างรวดเร็วจนกลายเป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุดในโลกแซงหน้ าภาษาอังกฤษไปแล้วและจากข้อมูลตัวเลขของInternet World Stats ที่แสดงตัวเลขของคนใช้ ภาษาจีนบนอินเตอร์เนตในปี 2011 ระบุว่ามีจํานวนราว 510 ล้านค เป็นรองแค่เพียงเว็บไซต์ของคนใช้ภาษาอังกฤษกว่า 565 ล้ นคน เท่านั้น ตัวเลขรวมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ใช้ภาษาจีนนั้นได้เพิ่มสูงอย่างไม่น่าเชื่อ ด้วยอัตราเกือบ15เท่า ภายใน11ปีความร้อนแรงของภาษาจีนในขณะนี้ทําให้ในหลายๆประเทศกําลังหันไปหาภาษาจีนกันมากขึ้น เป็นต้นว่าทางการปากีสถานประกาศว่าตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นไปจะกําหนดให้ภาษาจีนกลายเป็นหนึ่งในวิชาบังคับที่นักเรียนตั้งแต่เกรด 6 เป็นต้นไปจะต้องเรียนในสวีเดน รัฐมนตรีว่ากากระทรวงศึกษาก็ ได้ประกาศว่าโรงเรียนประถมศึกษาในสวีเดนจะเปิดคอร์สเรียนภาษาจีนภายในอี ก 10 ปี ข้างหน้าส่วนในสหรัฐอเมริกาจํานวนโรงเรียนทั้งรัฐบาลและเอกชนที่เปิดคอร์สสอนภาษาจีนก็เพิ่มขึ้นจาก 300 แห่งเป็น 1,600 แห่ง ภายในเวลา 10 ปี เหล่านี้แสดงให้เห็นว่าทั่วโลกกําลังค่อยๆเปิดรับความสําคัญของการใช้ภาษาจีน และเตรียมตัวให้ประชากรในประเทศมี ทักษะที่พร้อมใช้ ภาษาจีนทั นที ที่เศรษฐกิจของจีนนําหน้ายักษ์ ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาได้ในที่สุด
ส่วนความจําเป็นที่จะต้องเรียนภาษาอาเซียนนั้น เห็นว่าควรจะให้ความสําคัญกับการพัฒนภาษาอังกฤษ ก่อนเนื่องจากการใช้ ภาษาอาเซียนยังคงมีอยู่แค่ในวงแคบๆเฉพาะแค่คนบางกลุ่มเท่านั้น เช่น มัคคุเทศก์ และผู้ประกอบการธุรกิจนําเที่ยวที่อยู่ในแถบชายแดนที่ติดต่อกับประเทศนั้นๆ เพื่อจะรองรับการเดินทางข้ามประเทศตามชายแดนของนักท่องเที่ยวที่จะมีจํานวนมากขึ้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียนแล้ว อย่างไรก็ดี หากภาครัฐเล็งเห็นถึงการเพิ่มศักยภาพในการผลิตบุคลากรให้มีความสามารถในการใช้ภาษาอาเซียน และภาษาอื่นที่ขาดแคลนเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่แรงงานไทย เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสให้ แรงงานไทยสามารถออกไปแข่งขันในเวทีอาเซียนได้

ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยในอาเซียน

กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” | “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” ความหมายที่เป็นที่เข้าใจในขั้นต้นก็เป็นเพียงเรื่องของทางราชการและภาคธุรกิจเอกชนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นเพียงเท่านี้ก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของการทำงานในโลกปัจจุบันอยู่แล้ว แม้จะหมายความเพียงว่าเป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารระหว่างกันในการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่รัฐบาล ตลอดจนองค์กรและหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทว่าความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียนด้วย
หมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น นอกเหนือจากภาษาประจำชาติหรือภาษาประจำถิ่นของแต่ละชาติแต่ละชุมชนเอง เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุมปรึกษาหารือและสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา เช่นภาษามาเลย์ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาจีน ภาษาลาว ภาษาขแมร์ ภาษาเวียดนาม ภาษาพม่า ภาษาฟิลิปปิโน ภาษาฮินดี และ ภาษาทมิฬ นอกจากนั้นยังมีภาษาของประเทศนอกภูมิภาคอาเซียนที่เป็นประเทศคู่เจรจาสำคัญของอาเซียนอีกแปดประเทศคือ: จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สหรัฐอเมริกา และ รัสเซีย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเรียนรู้ภาษาที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษารัสเซีย และภาษาที่ใช้ในอินเดียอีกหลายภาษา (ฮินดี, อูรดู, ทมิฬ, เบงกาลี ฯลฯ)
ภาษาอังกฤษ ในฐานะภาษาสำคัญของโลก ภาษาอังกฤษปัจจุบันคือภาษานานาชาติ เป็นภาษากลางของโลก ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางของมนุษยชาติ เป็นภาษาที่มนุษย์บนโลกใช้ติดต่อระหว่างกันเป็นหลัก ไม่ว่าแต่ละคนจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาประจำชาติ เมื่อต้องติดต่อกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมกันทุกคนจำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ทุกชาติทุกภาษาจึงบรรจุวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองรองลงมาจากภาษาประจำชาติ เป็นแกนหลักของหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ปฐมวัยไปจนถึงการศึกษาตลอดชีวิตแต่เมื่ออาเซียนกำหนดให้ภาษาอังกฤษเป็น “working language” เราจึงต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ตามความหมายของถ้อยคำว่าเป็น “ภาษาทำงาน” ของทุกคนในอาเซียน ทุกคนที่ “ทำงานเกี่ยวกับอาเซียน”, “ทำงานในอาเซียน”, ทำงานร่วมกับเพื่อนอาเซียน”, “มีเครือข่ายประชาสังคมอาเซียน”, “แสวงหาโอกาสทางการศึกษาในอาเซียน”, “มีเพื่อนในอาเซียน” และ “เดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน” ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ไปจนถึงเกษตรกรชาวไร่ชาวนา ชาวบ้านทั่วไป นักเรียน นักศึกษา เด็กและเยาวชน ฯลฯ
ในปี พ.. 2558 แรงงานมีฝีมือหรือมีทักษะและนักวิชาชีพทั้งหลายจะสามารถเดินทางข้ามประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนไปหางานทำได้สะดวกมากขึ้นและจะทำได้โดยเสรี หมายความว่า คนจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถมา สมัครงาน หางานทำ หรือแย่งงานเราไปทำได้ เพราะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอาเซียน ในเรื่องนี้เองที่ภาษาอังกฤษจะเป็นมาตรฐานกลางที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเรียน การฝึกฝนอบรมในทักษะวิชาชีพต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงจำจะต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้และให้ดีไม่แพ้ ชาวชาติอื่นๆในอาเซียน หากทำได้อย่างน้อยก็จะเป็นการปกป้องโอกาสในการทำงานในประเทศไทยของเรามิให้ เพื่อนอาเซียนมาแย่งงานของเราไปได้ แต่หากเราไม่เก่งทั้งทักษะภาษาและทักษะวิชาชีพเราก็จะหางานทำในประเทศของเรา เองสู้คนชาติอื่นไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องที่เราจะเข้าไปแข่งขันหางานทำในสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ การมีทักษะวิชาชีพเสมอกันในคุณภาพแต่กลับความอ่อนด้อยในเรื่องภาษาอังกฤษก็ เป็นจุดอ่อนที่จะทำให้โอกาสการหางานทำในอาเซียนลดลง แม้จะหางานทำในประเทศไทยเองก็ตามก็จะยากมากขึ้นถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป

การพัฒนาทักษะภาษาของแรงงานไทย

การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 หรือในอีกไม่ถึง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดแรงงานในประเทศ ทั้งในด้านการย้ายออกของแรงงานฝีมือของไทยโดยเฉพาะแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อไปทำงานในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ขณะที่ในอีกด้านหนึ่งก็มีความกังวลต่อการย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานต่างชาติจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดแรงงานของไทยรุนแรงขึ้น
จากการศึกษาของ OECD ถึงประสบการณ์ในการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศในยุโรปพบว่า หนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศคือ ความแตกต่างด้านภาษา ดังจะเห็นได้ว่าแรงงานที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในกลุ่ม EU (27 ประเทศ) มีสัดส่วนน้อยกว่า 0.5% ของประชากรทั้งกลุ่ม ต่ำกว่าในกรณีของกลุ่ม EU (15 ประเทศ) ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรมีความรู้ด้านภาษาไม่แตกต่างกันมาก ที่มีสัดส่วนการเคลื่อนย้ายราว 1% ของประชากรทั้งกลุ่ม หรือแม้แต่การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างรัฐในประเทศเดียวกันอย่างในแคนาดา ความแตกต่างด้านภาษาก็เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเช่นเดียวกัน โดยสัดส่วนแรงงานที่เคลื่อนย้ายระหว่างรัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษกับเมือง Quebec ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการมีสัดส่วนน้อยกว่า 0.5% ต่ำกว่าการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างรัฐอื่น ๆ ที่เหลือของแคนาดาที่มีสัดส่วนราว 1% ข้อมูลข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่า อาเซียนที่ประกอบด้วย 10 ชาติ 10 ภาษา ก็คงต้องเผชิญกับปัญหาความแตกต่างด้านภาษาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากพิจารณาในแง่มุมของปัจเจกบุคคล ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ย่อมมีความได้เปรียบทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงในการออกไปหางานทาในประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า เช่นเดียวกับการพิจารณาในระดับประเทศ ซึ่งประเทศที่ประชากรมีทักษะด้านภาษาดีกว่าย่อมดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศได้มากกว่า
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยโดยเฉลี่ยจากคะแนน TOEFL iBT กับประเทศอื่นในอาเซียน (ยกเว้นบรูไน) พบว่าคะแนน TOEFL iBT เฉลี่ยของไทยในปี 2553 อยู่ที่ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนามเท่านั้น แต่ยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น เพราะการที่แรงงานไทยมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษสูงขึ้น ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับแรงงานจากชาติอาเซียนอื่นท่ามกลางการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ AEC เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ทิศทางการพัฒนาภาษาอังกฤษของคนไทย

เมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็น “ภาษากลาง” ในการสื่อสารระหว่าง 10 ชาติอาเซียน ทำให้หลายฝ่ายออกมาแสดงความเป็นห่วงกับปัญหาการใช้ “ภาษาอังกฤษ” ของคนไทย เพราะเมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ ล้วนแต่ชี้ชัดตรงกันว่า “ภาษาอังกฤษ” ของเราสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ได้ และอยู่ใน “ระดับต่ำมาก” บ้างก็ว่าต่ำกว่าอินโดนีเซีย เวียดนาม หรือแม้แต่ “แพ้” ลาว ก็มี เพราะเราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร? หรือ เพราะเราไม่ใส่ใจที่จะพัฒนาทักษะภาษา ไม่เคยสนใจว่าเพื่อนบ้านเราเขาไปถึงไหนแล้วกันแน่?
เหลือเวลาอีกไม่มากนักสำหรับการเตรียมตัวรับมือก่อนการเปิดเสรีอาเซียน เราต้องเริ่มเปิดหูเปิดตาเรียนรู้เพื่อนบ้านให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราให้ทัดเทียม และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ เพื่อหาโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง หรืออย่างน้อยก็เพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราเสียโอกาสที่ควรจะเป็นของเรา เช่น งานที่ควรจะเป็นของเรา แต่เรากลับถูก “กำจัดจุดอ่อน” รับต่างชาติเข้ามาทำแทน เพราะต่างชาติมีศักยภาพมากกว่าในอัตราค่าจ้างที่เท่ากัน และคนไทยอาจหางานยากขึ้น หรืออาจตกงานเอาได้ง่าย ๆเมื่อเทียบสัดส่วนการใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารของประเทศในอาเซียน พบว่า คนไทยที่สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้มีเพียง 10 % เท่านั้น ซึ่งทำให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 5 จาก 10 ประเทศ
สิงคโปร์ 4.58 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ 3.25 ล้านคน คิดเป็น 71%
ฟิลิปปินส์ 97 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ 49.80 ล้านคน คิดเป็น 55.49%
บรูไน ดารุสซาลาม 0.38 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ 0.14 ล้านคน คิดเป็น 37.73%
มาเลเซีย27.17 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ 7.4 ล้านคน คิดเป็น 27.24%
ไทย63.03 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษ 6.54 ล้านคน คิดเป็น 10%
หากเปรียบเทียบคะแนน TOEFL ของบัณฑิตจากประเทศอาเซียน พบว่า ชาติที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 550 ได้แก่ สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ คะแนนเฉลี่ยสูงกว่า 500 ได้แก่ พม่า เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนไทยมีคะแนนเฉลี่ยของบัณฑิตต่ำกว่า 500 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับบัณฑิตจากประเทศลาว อีกข้อมูลที่ยืนยันว่า ไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงคือ การจัดอันดับของ English Proficiency Index (EFI) ที่แบ่งระดับทักษะภาษาอังกฤษออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ำ และระดับต่ำมาก ปรากฏว่า ประเทศไทยถูกจัดอยู่ใน “ระดับต่ำมาก” ทั้งยังอยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าอินโดนีเซียและเวียดนามเสียอีกข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า หากเรายังเฉยอยู่ ไม่พัฒนาตัวเอง อนาคตอาจรั้งท้ายทุกประเทศในอาเซียนเลยก็ได้ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล กล่าวไว้ว่า ภาษาเป็นทักษะ เรียนรู้ได้ด้วยการฝึกฝน ใช้มาก ๆ ใช้บ่อย ๆ เท่านั้นเอง ถ้าขยันเรียนก็ใช้ภาษาอังกฤษได้ในเวลาไม่นานภาษาอังกฤษ เรียนไม่ยาก สำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ปีเดียวก็สามารถพัฒนาทักษะภาษาได้...ถ้าต้องการพัฒนา ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องฝึกภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเราเอง ใครไม่ตื่นตัวเราไม่ต้องรอ เพราะผลที่จะได้ก็เกิดแก่ตัวของเราเองทั้งสิ้น โดยเริ่มฝึกจากภาษาอังกฤษที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ฝึกคำศัพท์ ฝึกฟัง ฝึกออกเสียง อ่านหนังสือพิมพ์ อ่านนิทาน อ่านบทความภาษาอังกฤษ ดูหนัง ดูสารคดีแบบไม่ต้องพึ่งซับไตเติ้ล ฟังเพลงภาษาอังกฤษแบบไม่ต้องดูเนื้อร้อง หรือฝึกจากบทเรียนออนไลน์ เป็นต้น เมื่ออ่านบ่อย ๆ ก็จะเขียนเก่ง เมื่อฟังบ่อย ๆ ก็จะจดจำสำเนียง และออกเสียงได้ดีขึ้น ที่สำคัญต้องฝึกอย่างต่อเนื่อง และเมื่อถึงเวลาเปิดอาเซียน เราก็จะสามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ เพราะภาษาอังกฤษจะไม่ใช่จุดอ่อนของเราอีกต่อไป

บทสรุป

ในปี 2558 ประเทศอาเซียน 10 ประเทศจะเข้าสู่ AEC ดังนั้นการเตรียมความพร้อมในเรื่องของภาษาเพื่อใช้ ในการสื่อสารในสภาพการณ์ ที่มีการแข่งขันสูงขึ้น ภาษาอังกฤษในฐานะที่เป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้ในการสื่อสารระหว่างกันในโลกปัจจุบันอีกทั้งกฎบัตรอาเซียนข้อ 34 ก็ได้ บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” ที่กําหนดให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในการทํางานของอาเซียน เมื่อประเทศอาเซียนเข้าสู่ AEC ไม่ว่าคนของแต่ละประเทศจะใช้ภาษาอะไรเป็นภาษาราชการ และภาษาประจําชาติ อยู่ในขณะนี้เมื่อต้องติดต่อสื่อสารกับคนอื่นที่ต่างภาษาต่างวัฒนธรรมนั้น ทุกคนจําเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก ทุกคนต้องเรียนรู้และใช้ภาษาอังกฤษให้ได้ทั้งสิ้น
ความหมายของบทบัญญัติที่ให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของอาเซียนสำหรับการทำงานร่วมกันนั้นมีความหมายกว้างไกลไปถึงทุกส่วนของประชาคมอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องพัฒนาตนเองในการเรียนรู้ให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์ในประชาคมอาเซียน ณ วันนี้เป็นต้นไป ปี พ.. 2558 แรงงานมีฝีมือหรือมีทักษะและนักวิชาชีพทั้งหลายจะสามารถเดินทางข้ามประเทศใน ภูมิภาคอาเซียนไปหางานทำได้สะดวกมากขึ้นและจะทำได้โดยเสรี คนจากประเทศอื่นในอาเซียนก็จะสามารถมา สมัครงาน หางานทำ หรือแย่งงานเราไปทำได้ เพราะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพอาเซียน ในเรื่องนี้เองที่ภาษาอังกฤษจะเป็นมาตรฐานกลางที่สำคัญอันจะนำไปสู่การเรียน การฝึกฝนอบรมในทักษะวิชาชีพต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป เพื่อสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในอาเซียน และไม่ให้เสียเปรียบ ต่อประเทศอื่นๆต่อไป
การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดแรงงานในประเทศ อาเซียนที่ประกอบด้วย 10 ชาติ 10 ภาษา ก็คงต้องเผชิญกับปัญหาความแตกต่างด้านภาษาที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากพิจารณาในแง่มุมของปัจเจกบุคคล ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล ย่อมมีความได้เปรียบทั้งการแข่งขันในตลาดแรงงานภายในประเทศที่ทวีความรุนแรงขึ้น รวมถึงในการออกไปหางานทาในประเทศอื่นที่มีค่าจ้างแรงงานสูงกว่า เช่นเดียวกับการพิจารณาในระดับประเทศ ซึ่งประเทศที่ประชากรมีทักษะด้านภาษาดีกว่าย่อมดึงดูดการค้าการลงทุนจากต่างประเทศได้มากกว่า
ดังนั้นเมื่อภาษาอังกฤษถูกกำหนดให้เป็น “ภาษากลาง” ในการสื่อสารระหว่าง 10 ชาติอาเซียน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่สองของชาวอาเซียน เคียงคู่ภาษาที่หนึ่งอันเป็นภาษาประจำชาติของแต่ละคน ส่วนภาษาที่สามของชาวอาเซียนนั้นก็คือภาษาอื่นในอาเซียนภาษาหนึ่งภาษาใดหรือมากว่าหนึ่งภาษา แต่การใช้ “ภาษาอังกฤษ” ของคนไทย เมื่อดูจากผลสำรวจของสำนักต่าง ๆ ล้วนแต่ชี้ชัดตรงกันว่า “ภาษาอังกฤษ” ของเราสู้เพื่อนบ้านในอาเซียนไม่ได้ และอยู่ใน “ระดับต่ำมาก” เหลือเวลาอีกไม่มากนักสำหรับการเตรียมตัวรับมือก่อนการเปิดเสรีอาเซียนเราต้องเริ่มเปิดหูเปิดตาเรียนรู้เพื่อนบ้านให้มากขึ้น ด้านการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี ถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่จะมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ และเป็นห่วงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อตลาดแรงงานในประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเราให้ทัดเทียม และสามารถแข่งขันกับต่างชาติได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องฝึกภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เริ่มที่ตัวเราเอง ใครไม่ตื่นตัวเราไม่ต้องรอ เพราะผลที่จะได้ก็เกิดแก่ตัวของเราเองทั้งสิ้น และเมื่อถึงเวลาเปิดอาเซียน เราก็จะสามารถสื่อสารได้อย่างมั่นใจ เพราะภาษาอังกฤษจะไม่ใช่จุดอ่อนของเราอีกต่อไป


0 Comments