ไขข้อข้องใจ พระพุทธรูปกอดสาว ปางยับยุม มีอยู่จริง

กรณีข่าว พระพุทธรูปปางหนึ่ง ลักษณะหญิงสาวโอบต้นคอใช้ขากอดรัดบั้นเอวของพระพุทธรูป ที่มีการแชร์ผ่านโซเชียลมีเดียล พร้อมกระแสวิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมถล่มทลาย ข้อเท็จจริงเปิดเผยว่า เป็นพระพุทธรูปหนึ่งของ นิกายตันตระยาน เรียกว่า ปางยับยุม (Yab-Yum แปลว่า พ่อ-แม่ เป็นภาษาทิเบต)
      
       เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ทั่วไปในพุทธศิลป์ นับถือย่างแพร่หลายใน อินเดีย, ภูฏาน, เนปาล และ ทิเบต มีมานานตั้งแต่แต่พุทธศักราชที่ 600-900 หรือไม่ต่ำกว่า 1,200 ปีแล้ว
      
       อิริยาบทดังกล่าวเป็นตัวแทน ระหว่างปัญญา(เพศชาย) และความเมตตา(เพศหญิง) ที่ต้องมีควบคู่กันเพื่อให้บรรลุธรรมที่แท้

          ทั้งนี้ ลัทธิตันตระยาน เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา แบบมหายาน ที่จะสร้างรูปเคารพในลักษณะแปลกกว่านิกายหินยาน หรือ เถรวาท โดยนำเอาเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ มาปรากฏในการสร้างพระพุทธรูปด้วย จนบางกลุ่มถูกเรียกว่า "นิกายมนตรยาน" 

        
         

0 Comments